ความลุ่มๆดอนๆ ของเศรษฐกิจโลก ดูจะเป็นเรื่องคุ้นเคยในรอบหลายปีทที่ผ่านมา นับตั้งแต่วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ที่สั้นคลอนสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2008 การตัดสินใจของสหราชอาณาจักรที่จะอยู่หรือไปกับกลุ่มสหภาพยุโรป ค่าเงินรูเบิลที่ตกกระหน่ำ จนถึงวิกฤตภาระหนี้ของกรีซที่สร้างความกังวลจนตลาดหุ้นสหรัฐ ต้องปิดแดนลบ
ดังนั้น โลกจึงเฝ้ามองนโยบายและมาตรการทางเสรษฐกิจที่สหรัฐ สหภาพยุโรป จนถึงฝั่งเอเชีย ทั้งญี่ปุ่นและจีน ได้ทยอยออกมาสร้างความเชื่อมั่นละกระตุ้นเศษฐกิจด้วยมาตรการการเงินและการคลัง โดยเฉพาะนโยบายการเพิ่มปริมาณเงิน หรือ มาตรการ QE (Quantitative Easing) ที่ยุโรปและณี่ปุ่นต่างดำเนินการในรูปแบบเดียวกัน เพื่อหวังผลว่า เมื่อเพิ่ปรอมาณการเงินเข้ามาในระบบมากขึ้น ดอกเบี้ยจะลดลง และส่งผลให้ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐ เงินยูโร และเงินเยนอ่อนตัวลง ซึ่งทฤษฏีตามตำราก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการส่งออก ลดการขาดดุลจากการนำเข้า รวมถึงทำให้เกิดการจ้างงานเติบโต เมื่อคิดคร่าวๆนะครับ ก็จะเห็นแต่ความน่ายินดีของเศรษฐกิจที่ส่องสว่าง ไม่นับรวมการลงทุนของภาครัฐ และราคาน้ำมันที่ลดลงจากการที่สหรัฐสามารถหาแหล่งพลังงานทดแทนได้อีกด้วย
แต่ชีวิตก็มักไม่เป็นดังเช่นที่หวังไว้ เศรษฐกิจโลกยังคงทอดอาลัย โดยเฉพาะยุโรป ญี่ปุ่น หรือแม้แต่จีน ที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ได้ร้อนแรงเช่นเดิมเสียแล้ว ทางฝั่งยุโรป อัตราการว่างงานสูงถึงร้อยละ 11 และอยู่ในสภาพเช่นนี้มานานจนคล้ายกับคนเซื่องซึม ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐ ที่ว่าผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วดูจะหายใจคล่องขึ้น เมื่ออัตราการว่างงานของคนอเมริกันลดลงมาาอยู่ที่ร้อยละ 5.6 เมื่อปลายปี 2014 ซึ่งลดลงกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.1 ส่วนอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5
ซึ่งเป็นผลมาจากการที่จีนแผ่นดินใหญ่เร่งเข้ามาลงทุนในสหรัฐมากขึ้้น ทำให้มาอัตราการจ้างงานที่สูงขึ้ตามลำดับ เป็นที่น่าคิดว่า เศรษฐกิจทางฝั่งอเมริกาจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง
ดังนั้น โลกจึงเฝ้ามองนโยบายและมาตรการทางเสรษฐกิจที่สหรัฐ สหภาพยุโรป จนถึงฝั่งเอเชีย ทั้งญี่ปุ่นและจีน ได้ทยอยออกมาสร้างความเชื่อมั่นละกระตุ้นเศษฐกิจด้วยมาตรการการเงินและการคลัง โดยเฉพาะนโยบายการเพิ่มปริมาณเงิน หรือ มาตรการ QE (Quantitative Easing) ที่ยุโรปและณี่ปุ่นต่างดำเนินการในรูปแบบเดียวกัน เพื่อหวังผลว่า เมื่อเพิ่ปรอมาณการเงินเข้ามาในระบบมากขึ้น ดอกเบี้ยจะลดลง และส่งผลให้ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐ เงินยูโร และเงินเยนอ่อนตัวลง ซึ่งทฤษฏีตามตำราก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการส่งออก ลดการขาดดุลจากการนำเข้า รวมถึงทำให้เกิดการจ้างงานเติบโต เมื่อคิดคร่าวๆนะครับ ก็จะเห็นแต่ความน่ายินดีของเศรษฐกิจที่ส่องสว่าง ไม่นับรวมการลงทุนของภาครัฐ และราคาน้ำมันที่ลดลงจากการที่สหรัฐสามารถหาแหล่งพลังงานทดแทนได้อีกด้วย
แต่ชีวิตก็มักไม่เป็นดังเช่นที่หวังไว้ เศรษฐกิจโลกยังคงทอดอาลัย โดยเฉพาะยุโรป ญี่ปุ่น หรือแม้แต่จีน ที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ได้ร้อนแรงเช่นเดิมเสียแล้ว ทางฝั่งยุโรป อัตราการว่างงานสูงถึงร้อยละ 11 และอยู่ในสภาพเช่นนี้มานานจนคล้ายกับคนเซื่องซึม ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐ ที่ว่าผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วดูจะหายใจคล่องขึ้น เมื่ออัตราการว่างงานของคนอเมริกันลดลงมาาอยู่ที่ร้อยละ 5.6 เมื่อปลายปี 2014 ซึ่งลดลงกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.1 ส่วนอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5
ซึ่งเป็นผลมาจากการที่จีนแผ่นดินใหญ่เร่งเข้ามาลงทุนในสหรัฐมากขึ้้น ทำให้มาอัตราการจ้างงานที่สูงขึ้ตามลำดับ เป็นที่น่าคิดว่า เศรษฐกิจทางฝั่งอเมริกาจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง
0 comments:
Post a Comment